วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดอกดาวเรือง หรือดอกคำปู้จู้   ภาษาอังกฤษว่า Marigold  เป็นไม้ดอกอายุสั้น  ต้นเป็นพุ่มสูงปานกลางดอกมีกลิ่นฉุนกลีบดอกสีเหลือง มีพันธุ์ที่นิยมปลูก  ได้แก่ดาวเรืองฝรั่งเศส   ดาวเรืองอเมริกัน และดาวเรืองซิกเน็ต  สำหรับพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสและ ดาวเรืองอเมริกันกลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ส่วนดาวเรืองซิกเน็ตกลีบดอกชั้นเดียว  สารสีเหลืองในกลีบดอกเรียกว่าแซนโธฟีล (Xanthophyll) ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้  สามารถใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์   โดยเฉพาะอาหารไก่   ช่วยให้สีของไข่แดงเข้มขึ้น
               ในตำหรับยาไทย  ใช้เป็นยาขับลม  แก้ปวดท้อง    น้ำสกัดจากดอกสดเมื่อนำมาปั่นกับน้ำ  ในอัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน มีผู้ทดลองสกัดสาร Xanthophyl  และกรดไขมันในดอกเพื่อพัฒนาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม  เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์   และทำเวชภัณฑ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กำลังค้นคว้าหาพันธุ์ดาวเรืองที่มีกลิ่น และรสชาติที่ตลาดยอมรับผลิต  เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ศึกษาหาแหล่งสีธรรมชาติ
นักวิชาการของศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา  สถาบันวิจัยหม่อนไหม  กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งประกอบด้วย  ชวนพิศ สีมาขจร  และแสงจันทร์  ขวัญอ่อน  ได้ทำการศึกษากรรมวิธีการย้อมสีเส้นไหม  โดยใช้สีย้อมธรรมชาติ  กลุ่มโทนสีเหลือง  สีจากดอกดาวเรือง  โดยคณะผู้วิจัยได้กล่าวถึงความเป็นมาของงานวิจัย  หรือมูลเหตุจูงใจให้มาทำงานวิจัยเรื่องนี้ว่าในสมัยโบราณ  มีการใช้สีธรรมชาติ     ซึ่งเป็นสีที่ได้จากพืช   สัตว์   และแร่ธาตุ   ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นย้อมเส้นไหม  และฝ้ายเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน   สีธรรมชาติมีคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัว  คือ ได้สีสวย เย็นตา  ไม่ฉูดฉาด   สามารถละลายน้ำได้ง่าย   นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติด้านการคงทนต่อแสงไม่ดีนัก  มีการเปลี่ยนแปลงของสี  และสีซีดง่าย   เนื่องจากสีย้อมธรรมชาติไม่ได้สร้างพันธะเคมีกับโครงสร้างใยไหม   เมื่อถูกแสงโมเลกุลของสีย้อมจึงเปลี่ยนรูปไปการย้อมสีด้วยสีธรรมชาติมีขบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก   แหล่งสีธรรมชาติโดยเฉพาะพืชหรือสัตว์   เจริญเติบโตช้า และใช้เวลานาน  จึงมีการใช้สีสังเคราะห์เข้ามาแทนที่  และสีสังเคราะห์จะติดเส้นใยดีมากมีความสดใส  สีไม่เปลี่ยนหรือซีดจาง  ทนต่อการซักและแสงแดด   ขั้นตอนการย้อมง่าย และรวดเร็ว  แต่เนื่องจากสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่    มีโลหะหนักในองค์ประกอบทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ย้อม   ซึ่งไม่ได้ป้องกันตนเองจากการสูดดมไอสารพิษหรือการสัมผัสพิษโดยตรง   น้ำย้อมที่เหลือซึ่งมีโลหะหนักและสารเคมีตกค้าง  ถูกทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ  เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นการทำลายสุขภาพของประชาชนทั่วไป     ที่ต้องอาศัยแหล่งน้ำเหล่านั้น               ปัจจุบันผู้คนในสังคมได้หันมาสนใจในการรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกันมากขึ้น  มีความสนใจที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมากขึ้น  การย้อมสีผ้าหรือเส้นใยด้วยสีธรรมชาติ  จึงกลับมาอีกครั้ง  เพราะสีธรรมชาติไม่สร้างมลภาวะ สามารถลดการนำเข้าสีสังเคราะห์ได้   จากเหตุผลดังกล่าว  คณะนักวิจัยของศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา  จึงได้เสนอแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาส่งเสริมการใช้สีย้อมธรรมชาติขึ้น  เมื่อปี 2540   โดยกำหนดประเด็นและกิจกรรมไว้ 7 ประการ  คือ         

               -  ปลูก  และขยายพันธุ์พืชที่ให้สี โดยเน้นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว
               -  
ศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างทางเคมีของสารให้สี  และสารคิดสี
               -  
หากรรมวิธีมาตรฐานในกระบวนการย้อม
               -  
การทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
               -  
การแปรรูปสารให้สี  และสารติดสี  รวมทั้งต้นทุนการแปรรูป
 
               จากปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว   คือ สีย้อมธรรมชาติไม่คงทนต่อการซักและแสง  ทำให้สีซีดง่าย(ยกเว้น)สีน้ำเงินที่ย้อมจากคราม  หรือม่อฮ่อม   ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสีที่ติดคงทน)   ทำให้ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ย้อมสีธรรมชาติ  ที่มีคุณสมบัติและมีสีเดิม  หรือใกล้เครีงสีเดิม ตามความต้องการของตลาด  ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคนิคการย้อมผ้า ให้มีคุณภาพสีดีมีมาตรฐาน  ด้วยวิธีการต่างๆ   เช่น  พัฒนาตัวสีย้อม  พัฒนาเครื่องมือสำหรับย้อม  และพัฒนาเทคนิคขบวนการย้อม  ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ       การตัดไม้ทำลายป่า  เพราะสีย้อมธรรมชาติมักจะได้มาจากเนื้อไม้  หรือบางส่วนของพืชป่า      ทำให้ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น ลดน้อยลง  การปลูกทดแทนต้องใช้เวลา  Serif"> จึงทำให้ขาดแคลนแหล่งสีย้อมธรรมชาติ  จำเป็นต้องมีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้เหล่านั้น  ขยายพันธุ์ให้มากขึ้น  ขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาไม้ย้อมสีชนิดอื่นๆ ที่สามารถปลูกได้ง่ายและโตเร็วเพื่อใช้เป็นแหล่งสีธรรมชาติที่หลากหลายชนิด  ให้สีที่แตกต่างกันมากขึ้น
ในเอกสารโครงการวิจัยของคณะวิจัยที่มีคุณชวนพิศ  สีมาขจร  เป็นหัวหน้า  ระบุว่า  คนโบราณพบว่า  มีพืชหลายชนิดที่ใช้เป็นสีแต่งอาหาร  และสีย้อมผ้าฝ้ายและไหม  ให้สีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และกรรมวิธีการย้อมในแต่ละแห่ง ส่วนใหญ่ของสีที่นำมาย้อมผ้าได้มาจากส่วนแก่น  และเปลือกของไม้ ยืนต้น เช่น แก่นประโฮด แก่นฝาง  แก่นเข แก่นขนุน แก่นประดู่    ซึ่งเดิมมีอยู่ในป่าธรรมชาติเป็นจำนวนมาก  แต่ปัจจุบันหาได้ยาก ดังที่กล่าวแล้ว  แม้จะมีการส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มเติม  แต่ต้องใช้เวลานานกว่าต้นไม้เหล่านี้จะเติบโตจนนำส่วนต่างๆ มาใช้ทำสีย้อมได้   ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยสกัดสีจากพืชโตเร็ว  พืชอายุสั้น วัชพืชบางชนิด  หรือพืชที่พอหาได้ทั่วไป  โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนา  มาใช้ทำสีย้อมผ้ารวมทั้งการสกัดสีจากบางส่วนของพืช  เช่น ใบ  ดอก  ผล  เปลือกผล  เปลือกแห้งของต้น หรือเมล็ด  ซึ่งมีปริมาณมาก   และเกิดขึ้นใหม่ทดแทนได้ง่าย 
 เช่น ใบหูกวาง  เปลือกมังคุด    ใบกระถินณรงค์เป็นต้น
การพัฒนาเทคนิควิธีใหม่ๆ  จะช่วยให้ได้สีย้อมผ้าที่แตกต่างกันไป   นอกจากนี้การนำ สีที่สกัดได้มาผสมกัน  ก็จะได้สีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาเทคนิคการแปรรูปวัตถุดิบให้สี  หรือแปรรูปสารให้สี  ทำให้ใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่า  ไม่ทิ้งวัตถุดิบให้เสียไป  โดยการหาวิธีการเก็บรักษาไว้ใช้ยามที่ต้องการ  สำหรับพันธุ์พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า  ซึ่งเป็นพันธุ์พืชหายากนั้น  ได้มีการราบรวมไว้มากกว่า 50 ชนิด  ที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ที่ตำบลคลองไผ่  อำเภอสีคิ้ว     จังหวัดนครราชสีมา  พืชทั้ง 50 ชนิดดังกล่าว  มีหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการนำมาทดลองวิจัยเพื่อย้อมสีเส้นไหม  ทางโครงการฯ  จึงได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร  ทำการวิจัย  อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากไม้ย้อมสี


วิจัยสารสกัดจากดอกดาวเรืองย้อมเส้นไหม
การศึกษาวิจัย  และพัฒนากระบวนการสกัดสีและย้อมสีธรรมชาติ   เป็นการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ    ที่ผลต่อการย้อมสีรวมทั้งวิจัยแปรรูปสีธรรมชาติ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
               -  
พัฒนาการย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ ด้วยการพัฒนเทคนิคการสกัดสีจากพืชให้สีที่มีศักยภาพ รวมทั้งให้ได้วิธีการที่ประหยัดวัตถุดิบ  แต่ได้สีที่มีคุณภาพดี
               -  
พัฒนาเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ   มีมาตรฐาน   คุณภาพสีของเส้นไหมอยู่ในระดับดี  เพื่อพัฒนาเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับเผยแพร่ต่อไป
               -  
แปรรูปวัตถุดิบพืชให้สี  หรือน้ำสีที่สกัดได้ไม่เน่าเสียในฤดูกาลที่มีมาก  และให้อยู่ในรูปที่สะดวกในการใช้ สามารถ ใช้ได้ทุกเวลา ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้
               -  
พัฒนาวิธีเก็บรักษาไม่ให้สีเสื่อมคุณภาพ
               
ในการวิจัยของคณะผู้วิจัย  จากศูนย์วิจัยหม่อนไหมนคราชสีมา  ซึ่งมีคุณชวนพิศ  สีมาขจร  เป็นหัวหน้าคณะได้ศึกษาการย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ  กลุ่มสีเหลือง   ซึ่งมีการใช้วัตถุธรรมชาติหลายชนิด   เช่น ประโฮด  แก่นแข   แก่นขนุน  และรากยอ  แต่พืชเหล่านี้เจริญเติบโตช้า  และส่วนที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นราก   ต้นและแก่น   ซึ่งหมายถึงว่า    ต้องตัดมาทั้งต้นชนิดถอนรากถอนโคน  ไม่มีส่วนที่เหลือไว้ให้เจริญเติบโตได้อีก  การศึกษาวิจัยจึงหันมาสนใจพืชอายุสั้น  โตเร็ว  และพบว่า "ดอกดาวเรือง"  มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้าได้  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
               
คณะผู้วิจัยได้ทดลองสกัดสีจากดอกดาวเรืองสด   ดอกดาวเรืองแห้ง  โดยการนึ่งไอน้ำ 10 นาที  และอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส  และดอกดาวเรืองแห้งที่ได้จากการผึ่งแดด  ดอกดาวเรืองทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าว  มีปริมาณวัตถุดิบเริ่มต้นเท่ากัน   หลังจากทำการสกัดวัดความเข้มข้นของสีเหลืองในน้ำสกัด   ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า  สเป็คโตรโฟโตมีเตอร์
เทียบกับสีเหลืองมาตรฐาน พบว่า สีสกัดจากดอกดาวเรืองนึ่งไอน้ำ  และนำมาอบแห้ง  มีความเข้มข้นสูงสุด  รองลงมาเป็นน้ำสกัดจากดอกดาวเรืองสด  และดอกดาวเรืองผึ่งแดด  ตามลำดับ




 
               -  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น