วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มหัศจรรย์ผ้าไหมไทย

มหัศจรรย์ผ้าไหมไทย

สุรินทร์ เมืองขอมโบราณ  คนทั่วไปกล่าวว่า ชาวสุรินทร์มีความแตกต่างจากชาวอีสานทั่วไปคือ ชาวอีสานพูดลาว (ภาษาถิ่น)  กินข้าวเหนียว แต่ชาวสุรินทร์พูดเขมรกินข้าวเจ้า

            นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานเคยเป็นที่อยู่ของพวกละว้า และลาว มีแว่นแคว้นปกครองเรียกว่า อาณาจักรฟูนัน  ต่อมาขอมได้เข้ามามีอำนาจแทน และตั้งอาณาจักรเจนละ หรืออิศานปุระ  ภายหลังแตกแยกเป็นสองแคว้น ทางแผ่นดินสูงตอนเหนือ ได้แก่ ภาคอีสานและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ลาว)  เรียกว่า แคว้นพนม หรือเจนละบก  แผ่นดินต่ำตอนใต้จดชายทะเล (เขมร)  เรียกว่า เจนละน้ำ ชาวเจนละบกเป็นขอมและเผ่านิกริโต ส่วนชาวเจนละน้ำเป็นชนเผ่าใหม่ ที่เกิดจากการผสมระหว่างชาวพื้นเมืองเดิม กับเผ่านิกริโต และเผ่าเมลาเนเซียน

            ชาวเจนละบก มีอิทธิพลในดินแดนที่ราบสูงอีสาน มีการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจในบริเวณนี้ แต่ภายหลังเจนละบก ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของเจนละน้ำ ถูกเกณฑ์ไปสร้างปราสาท ในแคว้นเจละน้ำนาน ๆ เข้าก็กลายเป็นขอมปนเขมร ล่วงมาหลายชั่วอายุคนก็กลายเป็นเขมร ไปโดยสมบูรณ์ พวกขอมที่อยู่ในถิ่นเดิมก็ร่อยหรอหมดไป ทำให้บริเวณที่ราบสูงอีสานมีสภาพเป็นเมืองร้าง วัฒนธรรมขอมกับเขมรจึงปนอยู่ด้วยกัน

            วิถีชีวิตของชาวสุรินทร์ถูกหล่อหลอมด้วยจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมที่มีความคล้ายคลึงกับชาวเขมรในกัมพูชา แต่ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ชาวสุรินทร์เรียกตนเองว่า ขแมร์เลอ แปลว่า เขมรสูง  เรียกชาวกัมพูชาว่า ขแมร์กรอม แปลว่า เขมรต่ำ

            ภาษาเขมรที่คนสุรินทร์พูดไม่เหมือนกับภาษาเขมรในกัมพูชา ส่วนสาเหตุที่วัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ โน้มเอียงไปทางเขมรนั้น เนื่องจากชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวกูย เป็นพวกรักสงบ เมื่อมาอยู่ในถิ่นเขมร จึงพยายามสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับเขมร วัฒนธรมของชาวกูยจึงผันแปรไปทางเขมร วัฒนธรรมเขมรได้ขยายเข้าสู่ดินแดน ที่ตั้งเมืองสุรินทร์ ตั้งแต่บริเวณทิวเขาพนมดงรัก ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  ชาวเขมรได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาในเมืองสุรินทร์ มีการแต่งงานระหว่างชาวเขมรกับชาวกูย ทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรมลาวได้ขยายเข้ามาสู่เมืองสุรินทร์ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างชาวกูย ชาวเขมรและชาวลาว โดยมีวัฒนธรรมเป็นแกนหลัก

\\\\\\\\\\\\\\\\

            ผ้าไหมสุรินทร์ สายใยแห่งอารยธรรมขอม  ผ้าทอของสุรินทร์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน และยังคงรักษารูปแบบลวดลายสีสันที่แปลกตา ความประณีต และกลวิธีการทอแบบโบราณไว้ได้จนถึงปัจจุบัน  ชาวสุรินทร์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่พูดภาษาเขมร ยังคงผลิตผ้าไหมที่มีเทคนิคการผลิตเฉพาะตัว ซึ่งบรรพบุรุษได้สืบทอดหลักการและกรรมวิธีการผลิต เช่น การเลี้ยงไหม การมัดหมี่ การย้อมสี และการทอ เป็นต้น

            กลุ่มชนแต่ละตระกูลภาษาในจังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะการทอผ้าแตกต่างกันทั้งในด้านกลวิธีการทอ ลวดลาย การให้สี การย้อมสี และวัถตุดิบที่ใช้ ลักษณะการผ้าทอของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร มีเอกลักษณ์เด่นชัด แตกต่างจากผ้าทอของชาวอีสานทั่วไป ผ้ามัดหมี่ของคนไทยเชื้อสายเขมรคือ ผ้าปูม เป็นผ้าทอเส้นพุ่งแบบสานตะกอ มีลวดลายเด่นชัด เดิมใช้เป็นผ้าสำหรับชนชั้นสูงในราชสำนัก นิยมทอขนาดยาวประมาณ ๔ เมตร กว้าง ๑ เมตร มีลวดลายสามแถว ที่เชิงผ้าทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังมีผ้ายกดอกที่เรียกว่า ลายลูกแก้ว ทอแบบสามตะกอ หกตะกอ และแปดตะกอ นิยมนำมาทำเป็นผ้าสไบ ผ้าห่ม ผ้าคลุมไหล่ มีลวดลายเป็นรูปสัตว์และรูปนครวัด ต้นแบบของผ้าชนิดนี้มาจากแบบผ้าของเขมร ซึ่งทอเป็นภาพพระพุทธประวัติ และภาพฉากบนสวรรค์

            กลุ่มชนชาวเขมร ในจังหวัดสุรินทร์ นิยมย้อมสีไหมด้วยสีธรรมชาติ โดยใช้กรรมวิธีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงมีลักษณะโดดเด่น สวยงามแปลกตา สีที่ใช้ย้อมไหม เป็นสีธรรมชาติได้จากพืชและสัตว์ เช่น สีแดงได้จากครั่ง หรือขี่ครั่ง สีเหลืองได้จากแก่น หรือแกแล สีครามได้จากราก และใบของต้นคราม สีดำได้จากผลมะเกลือ สีเขียวได้จากเปลือกประโหด หรือกระหูด



\\\\\\\\\\\\


                ลวดลายของผ้าไหมสุรินทร์  มีลักษณะแตกต่างจากผ้าของชาวอีสานทั่วไป กรรมวิธีในการจับลาย หรือมัดลายมีรสนิยมสูง นิยมใช้ไหมน้อย เพราะเป็นไหมเนื้อละเอียด และพิถีพิถันในการเก็บรายละเอียดของลวดลาย ตลอดจนการสร้างสีสัน ที่ประสานกลมกลืนกับลวดลายผ้า

                ลวดลายผ้าพื้นเมืองของชาวอีสานทั่วไป มีสองลักษณะคือ ลวดลายภายนอกและลวดลายโครงสร้าง แต่ลวดลายผ้าพื้นเมืองของชาวสุรินทร์ เป็นลวดลายโครงสร้าง ซึ่งเกิดจากการมัดย้อม และการทอให้เป็นลวดลายต่าง ๆ หรือความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ทอ หรือเกิดจากวิธีการทอ (การขัดเส้นไหม)

                การจับลายหรือมัดหมี่เป็นลายนั้นได้รับอิทธิพลหรือความบันดาลใจ จากสิ่งแวดล้อมเช่น ลายพระตะบอง ลายพนมเปญ ลายปราสาท ลายกนก ลายเรือหงส์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นความบันดาลใจจากธรรมชาติ ได้แก่ ลวดลายจากพืช ลวดลายจากสัตว์ เช่น ดอกมะเขือ ดอกผักขะแยง ลายช้าง ลายม้า ลายไก่ ลายนกยูง เป็นต้น

                กลวิธีการทอ  จำแนกออกเป็นสามลักษณะคือ

            ลายทางและลายตาราง  เป็นลวดลายที่เกิดจากการย้อมสีไหมที่ทอ โดยย้อมไหมยืนและไหมพุ่ง ต่างสีกัน ลายที่นิยมกันมากได้แก่ ลายสระมอ  มีลักษณะเป็นตารางเล็ก ๆ นิยมใช้สีดำเหลือบทอง และสีเขียวขี้ม้า ผ้าที่ย้อมจนได้สีทองแก่ ถือว่าเป็นผ้าลายสระมอที่สวยงามที่สุด มีความคงทนถาวรมาก ผ้าลายอันลูนญ์ซัม  มีลักษณะเป็นลายทาง นิยมย้อมไหม เป็นเส้นพุ่ง และไหมเส้นยืนเป็นสีแดง - ขาว เหลืองทอง - เขียว  ผ้าผืนหนึ่งจะใช้ไหมเพียงสี่สี ทอสลับกันไปจนจบผืน ผ้าลายสคู มีลักษณะเป็นตารางเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละครึ่งนิ้ว ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสยังมีตารางเล็ก ๆ อีก ๖๔ ตาราง  สีที่นิยมใช้เป็นกรอบคือ สีเขียว กับสีขาว หรือสีเหลืองทองกับสีขาว ส่วนตารางเล็ก ๆ ภายในกรอบนั้นนิยมใช้สีหลาย ๆ สี เช่น เขียว แดง น้ำเงิน  และเหลืองทอง เป็นต้น  ผ้าลายซโรง (โสร่ง)  มีลักษณะเป็นตารางใหญ่ขนาดยาวห้านิ้วครึ่ง กว้างสี่นิ้วครึ่ง โดยประมาณนิยมใช้สีแดงสลับกับสีเขียว มีลายริ้วตรงกลางตลอดผืนผ้า มีความพิเศษทีผิวสัมผัสของผ้า มีความมันระยิบระยับ ซึ่งเกิดจากการปั่นไหมหางกระรอก ผ้ากระนิ่ว เป็นผ้าที่ใช้เส้นไหมต่างสีกัน ตั้งแต่สองเส้นขึ้นไปนำมาฟั่นให้เป็นเส้นเดียวกัน เมื่อทอเป็นผ้าแล้วจะได้ผ้าไหมเนื้อหนา สวยงามแปลกตา นิยมใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ผ้านุ่งหางกระรอก

\\\\




                    ลายมัดหมี่  เป็นลวดลายที่เกิดจากการมัดย้อมเส้นพุ่งแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้า ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมรเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าปูม มักจะทำลวดลายเป็นรูปคน สัตว์ และรูปสถาปัตยกรรมเขมรเมืองพนมเปญ และพระตะบอง ผ้าปูมชนิดที่ดีที่สุดได้แก่ ผ้าลายก้ามแย่งประจำยาม ผ้าลายนาคเกี้ยวสีแดง ผ้าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ก้ามแย่งเป็นรูปนาคเกี้ยวและลายบุษบก สีและลวดลายของผ้าปูมนิยมใช้สีม่วงเปลือกมังคุด สีแดง สีเขียว สีคราม และสีเหลือง ซึ่งมีความกลมกลืนกัน เนื่องจากการย้อมทับ เพื่อผสมสีให้ได้สีใหม่ขึ้น ผ้าปูมที่มีสีและลวดลายเด่น ๆ ได้แก่

                    ผ้าลายพระตะบอง  เป็นลายกรอบรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีลายดอกสีด้านอยู่ตรงกลาง นอกกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปุร ล้อมรอบด้วยขอเครือ

                    ผ้าลายช้าง  มีลักษณะเป็นรูปช้างยืน หรือหมอบ หันหน้าเข้าหากันเป็นคู่ ๆ ทั้งนี้เกิดจากการคั่นไหมเพื่อมัดลาย

                    ผ้าลายม้า  มีลักษณะเป็นรูปม้ายืนคล้ายช้าง

                    ผ้าลายนกยูง  มีลักษณะเป็นรูปนกยุงรำแพน ยืนหันหน้าเข้าหากันคล้ายลายช้าง

                    ผ้าลายไก่  มีลักษณะเป็นรูปไก่ ยืนหันหน้าออกจากกัน

                    นอกจากนี้ยังมีลายผ้าที่นิยมทอใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ลายนก ลายพญานาค ลายพนมเปญ ฯลฯ

                    ลายผสม  เป็นลายที่เกิดจากการทอเส้นพุ่ง ย้อมสีและมัดย้อม สลับกันจนเต็มผืนเรียกว่า หมี่คั่น เช่น

                    ลายหมี่โฮล  เป็นผ้าที่เน้นสีสันและลวดลายให้ดูเด่นสะดุดตา มีลักษณะคล้ายคล้ายใบไผ่ เป็นลายริ้ว ขนาดกว้างประมาณครึ่งนิ้ว คล้ายก้านใบไผ่ สลับกับลายมัดหมี่ที่คล้ายใบไผ่


\\\\




ลายอัมปรม  มีลักษณะเป็นลายตารางเล็ก ๆ ตรงกลางมีจุดประสีขาวลอยเด่น บนพื้นสีน้ำตาลแดง ซึ่งเกิดจากการมัดเส้นยืนและเส้นพุ้งเป็นกำ (มัดสองทาง)  เว้นระยะห่างกันประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วย้อมด้วยสีน้ำตาลอมแดง ชาวสุรินทร์เรียกไหมที่ย้อมนี้ว่า สีกราก หรือสักรา การผลิตผ้าลายอัมปรมนี้เป็นกรรมวิธียุ่งยากที่สุด เนื่องจากต้องมัดหมี่เส้นยืนซึ่งยุ่งยากมาก  แล้วยังต้องใช้ทักษะความชำนาญในการดึงเส้นพุ่ง และส้นยืนให้สัมผัสกันตรงระยะ และช่องไฟอีกด้วย เพื่อให้เส้นไหมตัดกันเป็นรูปเครื่องหมายกากบาท ได้สัดส่วนสวยงาม

                    ลายโคม  มีลักษณะคล้ายเปลวเทียน ที่เป็นเปลวรอบนอกรอบใน มีจำนวนเลขเพื่อบอกจำนวนที่คั่นลายมัดย้อม ลายโคมนี้จัดเป็นลายพื้นฐานที่สามารถนำไปดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้นได้มีชื่อเรียกตามขนาด เช่น โคมห้า โคมเจ็ด โคมเก้า เป็นต้น

                    ลายขอ  มีลักษณะคล้ายตะขอ ออกแบบลายตามอย่างตะขอที่ใช้ยึดเกาะสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน มีการออกแบบเป็นลายขอเดี่ยว ๆ เรียงกันไปเต็มผืนผ้า หรือเรียงต่อ ๆ กันเรียกว่า ขอเครือ

                    ลายลูกแก้ว  มีลักษณะคล้ายลูกแก้วอยู่กลางลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนขนาดเล็ก เป็นผ้าไหมที่ทอ ยกดอกในตัว แต่เดิมนิยมใช้สีขาวและสีดำ โดยทอเสร็จแล้วจึงนำไปย้อม ต่อมามีการมัดย้อมแล้วนำไปทอ การยกดอกนี้มีหลายลายด้วยกัน เช่น ลายดอกแก้ว หรือลูกแก้ว ลายดอกจันทน์ ลายดอกพิกุล เป็นต้น

                    แหล่งผลิตผ้าไหมที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หมู่บ้านจันรม ตำบลตาอ๊อง อำเภอเมือง ฯ บ้านสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง ฯ บ้านแกใหญ่ ตำบลแสลงพันธ์ อำเภอเมือง ฯ  บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ กิ่งอำเภอธารพัด อำเภอศีขรภูมิ




\\\\\\

\\\\\


  

     ที่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร ตามถนนสาย สุรินทร์ เมืองลีง มีการ ทอผ้ายกทองโบราณ สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นผ้าที่ทอจากฝึมือมนุษย์ เดินดินธรรมดาอย่างเรา ๆ ความสวยงามของผ้ายกทองโบราณ เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ลูกหลานชาวบ้านท่าสว่างนั่นเอง ซึ่งได้แนวความคิดจากการใช้ลายผ้าโบราณ มาผสมผสานกับลานจำหลักที่ปรากฏอยู่ตามปราสาทขอมในท้องถิ่นอีสาน ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของคนสุรินทร์ ออกแบบเป็นลาย ผ้าไหมใหม่ เรียกว่าผ้ายกทองโบราณ สวยงามประหนึ่งว่าเกิดจากการเนรมิตของเทพเจ้าการออกแบบลายแต่ละลาย ใช้เวลาออกแบบ เขียนแบบ แบะ เก็บตะกอนาน 2 - 3 เดือน ในด้านการทอผ้าแต่ละผืนก็ต้องใช้เวลาทอนาน 1-3 เดือน จึงจะเสร็จต้องใช้ช่างทอประจำที่แต่ละที่ 4 คนขึ้นไป ค่อย ๆ ทอได้ 5-7 เซนติเมตรต่อวัน ผ้าแต่ละผืนทอจากเส้นไหมที่ย้อมจากสีธรรมชาติยกเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามจินตนาการด้วยดิ้นทองของอินเดีย ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด

      อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้คิดค้นลายผ้ายกทองโบราณ เป็นลูกหลานชาวบ้านท่าสว่าง สำเร็จการศึกษาด้านศิลปะประจำชาติจากสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่างกรุงเทพ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตลดา ได้มีโอกาสรับสนองใต้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทอผ้าฉลองพระองค์ มีตะกอลายถึง 1,418 ตะกอ ทอผ้าลายหิ่งห้อยชมสวนให้ภริยาเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มีตะกอลาย 360 ตะกอ

     ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC ในเดือน ตุลาคม 2546 อาจารย์วีรธรรม ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบ และทอผ้าลายไทย สำหรับตัดเย็บเป็นชุดให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ สวมใส่เบ้าร่วมประชุมครั้งนี้


\\\\\\

       ผู้สนใจจะเดินทางไปเยี่ยมชมการทอผ้าไหมมหัศจรรย์ของอาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ติดต่อได้ที่คุณ สุมาลี ติดใจดี โทรศัพท์ 09-2027009 หากจะเดินทางไปด้วยตนเอง ให้ใช้เส้นทางสาย สุรินทร์-จอมพระ เมื่อออกจากตัวเมืองได้ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ อยู่ด้านซ้ายมือ เมื่อสุดรั้วสถานีทดลองข้าวจะมีทางแยกซ้ายมือไปตามริมคลองชลประทาน ให้ไปตามถนนริมคลองชลประทานจนถึงถนนสายสุรินทร์เมืองลีงให้เลี้ยวซ้าย จะพบหมู่บ้านท่าสว่างเป็นหมู่บ้านแรก เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านจะมีปั้ม น้ำมันอยู่ด้านขวามือ เลยปั้มน้ำมันก็จะเป็นทางเข้าไปยังบ้านของอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ท่านจะได้รับการต้อนรับจากอาจารย์วีรธรรมฯ และช่างทอด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดียิ่ง




\\\\\\


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดอกดาวเรือง หรือดอกคำปู้จู้   ภาษาอังกฤษว่า Marigold  เป็นไม้ดอกอายุสั้น  ต้นเป็นพุ่มสูงปานกลางดอกมีกลิ่นฉุนกลีบดอกสีเหลือง มีพันธุ์ที่นิยมปลูก  ได้แก่ดาวเรืองฝรั่งเศส   ดาวเรืองอเมริกัน และดาวเรืองซิกเน็ต  สำหรับพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศสและ ดาวเรืองอเมริกันกลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ส่วนดาวเรืองซิกเน็ตกลีบดอกชั้นเดียว  สารสีเหลืองในกลีบดอกเรียกว่าแซนโธฟีล (Xanthophyll) ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้  สามารถใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์   โดยเฉพาะอาหารไก่   ช่วยให้สีของไข่แดงเข้มขึ้น
               ในตำหรับยาไทย  ใช้เป็นยาขับลม  แก้ปวดท้อง    น้ำสกัดจากดอกสดเมื่อนำมาปั่นกับน้ำ  ในอัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน มีผู้ทดลองสกัดสาร Xanthophyl  และกรดไขมันในดอกเพื่อพัฒนาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม  เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์   และทำเวชภัณฑ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กำลังค้นคว้าหาพันธุ์ดาวเรืองที่มีกลิ่น และรสชาติที่ตลาดยอมรับผลิต  เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ศึกษาหาแหล่งสีธรรมชาติ
นักวิชาการของศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา  สถาบันวิจัยหม่อนไหม  กรมวิชาการเกษตร  ซึ่งประกอบด้วย  ชวนพิศ สีมาขจร  และแสงจันทร์  ขวัญอ่อน  ได้ทำการศึกษากรรมวิธีการย้อมสีเส้นไหม  โดยใช้สีย้อมธรรมชาติ  กลุ่มโทนสีเหลือง  สีจากดอกดาวเรือง  โดยคณะผู้วิจัยได้กล่าวถึงความเป็นมาของงานวิจัย  หรือมูลเหตุจูงใจให้มาทำงานวิจัยเรื่องนี้ว่าในสมัยโบราณ  มีการใช้สีธรรมชาติ     ซึ่งเป็นสีที่ได้จากพืช   สัตว์   และแร่ธาตุ   ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นย้อมเส้นไหม  และฝ้ายเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน   สีธรรมชาติมีคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัว  คือ ได้สีสวย เย็นตา  ไม่ฉูดฉาด   สามารถละลายน้ำได้ง่าย   นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติด้านการคงทนต่อแสงไม่ดีนัก  มีการเปลี่ยนแปลงของสี  และสีซีดง่าย   เนื่องจากสีย้อมธรรมชาติไม่ได้สร้างพันธะเคมีกับโครงสร้างใยไหม   เมื่อถูกแสงโมเลกุลของสีย้อมจึงเปลี่ยนรูปไปการย้อมสีด้วยสีธรรมชาติมีขบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยาก   แหล่งสีธรรมชาติโดยเฉพาะพืชหรือสัตว์   เจริญเติบโตช้า และใช้เวลานาน  จึงมีการใช้สีสังเคราะห์เข้ามาแทนที่  และสีสังเคราะห์จะติดเส้นใยดีมากมีความสดใส  สีไม่เปลี่ยนหรือซีดจาง  ทนต่อการซักและแสงแดด   ขั้นตอนการย้อมง่าย และรวดเร็ว  แต่เนื่องจากสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่    มีโลหะหนักในองค์ประกอบทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ย้อม   ซึ่งไม่ได้ป้องกันตนเองจากการสูดดมไอสารพิษหรือการสัมผัสพิษโดยตรง   น้ำย้อมที่เหลือซึ่งมีโลหะหนักและสารเคมีตกค้าง  ถูกทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ  เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นการทำลายสุขภาพของประชาชนทั่วไป     ที่ต้องอาศัยแหล่งน้ำเหล่านั้น               ปัจจุบันผู้คนในสังคมได้หันมาสนใจในการรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกันมากขึ้น  มีความสนใจที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมากขึ้น  การย้อมสีผ้าหรือเส้นใยด้วยสีธรรมชาติ  จึงกลับมาอีกครั้ง  เพราะสีธรรมชาติไม่สร้างมลภาวะ สามารถลดการนำเข้าสีสังเคราะห์ได้   จากเหตุผลดังกล่าว  คณะนักวิจัยของศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา  จึงได้เสนอแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาส่งเสริมการใช้สีย้อมธรรมชาติขึ้น  เมื่อปี 2540   โดยกำหนดประเด็นและกิจกรรมไว้ 7 ประการ  คือ         

               -  ปลูก  และขยายพันธุ์พืชที่ให้สี โดยเน้นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว
               -  
ศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างทางเคมีของสารให้สี  และสารคิดสี
               -  
หากรรมวิธีมาตรฐานในกระบวนการย้อม
               -  
การทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
               -  
การแปรรูปสารให้สี  และสารติดสี  รวมทั้งต้นทุนการแปรรูป
 
               จากปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว   คือ สีย้อมธรรมชาติไม่คงทนต่อการซักและแสง  ทำให้สีซีดง่าย(ยกเว้น)สีน้ำเงินที่ย้อมจากคราม  หรือม่อฮ่อม   ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสีที่ติดคงทน)   ทำให้ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ย้อมสีธรรมชาติ  ที่มีคุณสมบัติและมีสีเดิม  หรือใกล้เครีงสีเดิม ตามความต้องการของตลาด  ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคนิคการย้อมผ้า ให้มีคุณภาพสีดีมีมาตรฐาน  ด้วยวิธีการต่างๆ   เช่น  พัฒนาตัวสีย้อม  พัฒนาเครื่องมือสำหรับย้อม  และพัฒนาเทคนิคขบวนการย้อม  ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ       การตัดไม้ทำลายป่า  เพราะสีย้อมธรรมชาติมักจะได้มาจากเนื้อไม้  หรือบางส่วนของพืชป่า      ทำให้ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น ลดน้อยลง  การปลูกทดแทนต้องใช้เวลา  Serif"> จึงทำให้ขาดแคลนแหล่งสีย้อมธรรมชาติ  จำเป็นต้องมีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้เหล่านั้น  ขยายพันธุ์ให้มากขึ้น  ขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาไม้ย้อมสีชนิดอื่นๆ ที่สามารถปลูกได้ง่ายและโตเร็วเพื่อใช้เป็นแหล่งสีธรรมชาติที่หลากหลายชนิด  ให้สีที่แตกต่างกันมากขึ้น
ในเอกสารโครงการวิจัยของคณะวิจัยที่มีคุณชวนพิศ  สีมาขจร  เป็นหัวหน้า  ระบุว่า  คนโบราณพบว่า  มีพืชหลายชนิดที่ใช้เป็นสีแต่งอาหาร  และสีย้อมผ้าฝ้ายและไหม  ให้สีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และกรรมวิธีการย้อมในแต่ละแห่ง ส่วนใหญ่ของสีที่นำมาย้อมผ้าได้มาจากส่วนแก่น  และเปลือกของไม้ ยืนต้น เช่น แก่นประโฮด แก่นฝาง  แก่นเข แก่นขนุน แก่นประดู่    ซึ่งเดิมมีอยู่ในป่าธรรมชาติเป็นจำนวนมาก  แต่ปัจจุบันหาได้ยาก ดังที่กล่าวแล้ว  แม้จะมีการส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มเติม  แต่ต้องใช้เวลานานกว่าต้นไม้เหล่านี้จะเติบโตจนนำส่วนต่างๆ มาใช้ทำสีย้อมได้   ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยสกัดสีจากพืชโตเร็ว  พืชอายุสั้น วัชพืชบางชนิด  หรือพืชที่พอหาได้ทั่วไป  โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกในบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนา  มาใช้ทำสีย้อมผ้ารวมทั้งการสกัดสีจากบางส่วนของพืช  เช่น ใบ  ดอก  ผล  เปลือกผล  เปลือกแห้งของต้น หรือเมล็ด  ซึ่งมีปริมาณมาก   และเกิดขึ้นใหม่ทดแทนได้ง่าย 
 เช่น ใบหูกวาง  เปลือกมังคุด    ใบกระถินณรงค์เป็นต้น
การพัฒนาเทคนิควิธีใหม่ๆ  จะช่วยให้ได้สีย้อมผ้าที่แตกต่างกันไป   นอกจากนี้การนำ สีที่สกัดได้มาผสมกัน  ก็จะได้สีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาเทคนิคการแปรรูปวัตถุดิบให้สี  หรือแปรรูปสารให้สี  ทำให้ใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่า  ไม่ทิ้งวัตถุดิบให้เสียไป  โดยการหาวิธีการเก็บรักษาไว้ใช้ยามที่ต้องการ  สำหรับพันธุ์พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า  ซึ่งเป็นพันธุ์พืชหายากนั้น  ได้มีการราบรวมไว้มากกว่า 50 ชนิด  ที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ที่ตำบลคลองไผ่  อำเภอสีคิ้ว     จังหวัดนครราชสีมา  พืชทั้ง 50 ชนิดดังกล่าว  มีหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการนำมาทดลองวิจัยเพื่อย้อมสีเส้นไหม  ทางโครงการฯ  จึงได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร  ทำการวิจัย  อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากไม้ย้อมสี


วิจัยสารสกัดจากดอกดาวเรืองย้อมเส้นไหม
การศึกษาวิจัย  และพัฒนากระบวนการสกัดสีและย้อมสีธรรมชาติ   เป็นการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ    ที่ผลต่อการย้อมสีรวมทั้งวิจัยแปรรูปสีธรรมชาติ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
               -  
พัฒนาการย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ ด้วยการพัฒนเทคนิคการสกัดสีจากพืชให้สีที่มีศักยภาพ รวมทั้งให้ได้วิธีการที่ประหยัดวัตถุดิบ  แต่ได้สีที่มีคุณภาพดี
               -  
พัฒนาเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ   มีมาตรฐาน   คุณภาพสีของเส้นไหมอยู่ในระดับดี  เพื่อพัฒนาเป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับเผยแพร่ต่อไป
               -  
แปรรูปวัตถุดิบพืชให้สี  หรือน้ำสีที่สกัดได้ไม่เน่าเสียในฤดูกาลที่มีมาก  และให้อยู่ในรูปที่สะดวกในการใช้ สามารถ ใช้ได้ทุกเวลา ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบได้
               -  
พัฒนาวิธีเก็บรักษาไม่ให้สีเสื่อมคุณภาพ
               
ในการวิจัยของคณะผู้วิจัย  จากศูนย์วิจัยหม่อนไหมนคราชสีมา  ซึ่งมีคุณชวนพิศ  สีมาขจร  เป็นหัวหน้าคณะได้ศึกษาการย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ  กลุ่มสีเหลือง   ซึ่งมีการใช้วัตถุธรรมชาติหลายชนิด   เช่น ประโฮด  แก่นแข   แก่นขนุน  และรากยอ  แต่พืชเหล่านี้เจริญเติบโตช้า  และส่วนที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นราก   ต้นและแก่น   ซึ่งหมายถึงว่า    ต้องตัดมาทั้งต้นชนิดถอนรากถอนโคน  ไม่มีส่วนที่เหลือไว้ให้เจริญเติบโตได้อีก  การศึกษาวิจัยจึงหันมาสนใจพืชอายุสั้น  โตเร็ว  และพบว่า "ดอกดาวเรือง"  มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้าได้  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
               
คณะผู้วิจัยได้ทดลองสกัดสีจากดอกดาวเรืองสด   ดอกดาวเรืองแห้ง  โดยการนึ่งไอน้ำ 10 นาที  และอบแห้งที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส  และดอกดาวเรืองแห้งที่ได้จากการผึ่งแดด  ดอกดาวเรืองทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าว  มีปริมาณวัตถุดิบเริ่มต้นเท่ากัน   หลังจากทำการสกัดวัดความเข้มข้นของสีเหลืองในน้ำสกัด   ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า  สเป็คโตรโฟโตมีเตอร์
เทียบกับสีเหลืองมาตรฐาน พบว่า สีสกัดจากดอกดาวเรืองนึ่งไอน้ำ  และนำมาอบแห้ง  มีความเข้มข้นสูงสุด  รองลงมาเป็นน้ำสกัดจากดอกดาวเรืองสด  และดอกดาวเรืองผึ่งแดด  ตามลำดับ




 
               -